Taylor หยิบความทรงจำเก่าๆ มาเล่าใหม่ พร้อมทิ้งคันทรีไว้เพื่อก้าวสู่การเป็นศิลปินป๊อป
18
เป็นเรื่องง่ายที่จะลืมไปว่าในปี 2014 นั้น Taylor Swift กำลังก้าวเข้าสู่จุดเปลี่ยนในการนำเสนอตัวตนใหม่ (ด้วยวัยเพียง 24 ปี) ในฐานะดาวจรัสฟ้าผู้พิชิตทุกอย่างแบบที่เรารู้จักกันในตอนนี้ เธอได้เริ่มปรับอัตราส่วนของดนตรีคันทรีและดนตรีป๊อปแล้วในอัลบั้ม Speak Now ในปี 2010 และ Red ในปี 2012 โดยร่วมงานกับโปรดิวเซอร์มือฉมังชาวสวีดิชอย่าง Max Martin และ Shellback ตามลำดับ แต่สำหรับอัลบั้ม 1989 แล้ว Taylor ล้มเลิกความคิดเรื่องอัตราส่วนนั้นไปเลย
เหมือนกับ Come On Over ของ Shania Twain หรือแม้กระทั่ง Bringing It All Back Home ของ Bob Dylan อัลบั้ม 1989 เป็นตัวอย่างของผลงานที่ศิลปินไปได้ไกลกว่าความคาดหวังและทะยานสู่ความสำเร็จ ทั้งนี้ Taylor ไม่ได้โตมากับซาวด์สังเคราะห์ที่ได้อิทธิพลจากซาวด์ยุค 80 อย่างที่บรรดาโปรดิวเซอร์ทั้ง Max Martin, Shellback, Ryan Tedder และโปรดิวเซอร์ที่กลายมาเป็นเพื่อนสนิทของเธออย่าง Jack Antonoff ใช้ช่วยเธอทำเพลง และตามที่ชื่ออัลบั้มช่วยเตือนความจำของเรา เธอยังไม่ทันลืมตาดูโลกด้วยซ้ำตอนที่ทศวรรษนั้นกำลังจะสิ้นสุดลง แต่ขณะที่เธอเล่นกับประเพณีและแบบแผนของเพลงคันทรีในอัลบั้มแรกๆ Taylor ก็เลือกที่จะหยิบความทรงจำเก่าๆ ของ 1989 มาเล่าใหม่ โดยไม่ใช่เพื่อมองย้อนกลับไป แต่เพื่อก้าวไปข้างหน้า